ใกล้เปิดเทอมผู้ปกครองหลายคนคงหัวหมุนวิ่งหาเงินมาจ่ายทั้งค่าเทอม
ค่าชุดเสื้อผ้านักเรียนนักศึกษา
อุปกรณ์การเรียน ค่าใช้จ่ายจิปะถะ
รวมถึงผู้ที่ทำงานแล้วอาจจะหาโอกาสที่จะเพิ่มพูนความรู้ด้วยการศึกษาต่อ แต่เป็นโรคทรัพย์จาง วันนี้อยากนำเสนอลู่ทางแหล่งเงินดีๆเพื่อนำเงินมาจ่ายค่าเทอมกันค่ะ
1.กู้เงินกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(กยศ.)
ปัจจุบัน กยศ. สนับสนุนค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ ค่าครองชีพ แก่นักเรียน
นักศึกษาที่มีความจำเป็นตั้งแต่ระดับมัธยมปลายสายสามัญและสายอาชีพ อาชีวศึกษา
และอุดมศึกษา โดยไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างศึกษาอยู่ และจะต้องชำระเงินคืนหลังจากจบการศึกษาแล้ว
2 ปี โดยกองทุนฯ จะคิดอัตราดอกเบี้ย 1 %
ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระคืนทั้งสิ้นไม่เกิน 15 ปี วงเงินกู้ยืม1.4 หมื่นบาท -2แสนบาท
2. พึ่งโรงรับจำนำ
อีกหนึ่งวิธีแปลงทรัพย์สินให้เป็นเงินค่าเทอมยอดนิยม คือ เข้าโรงรับจำนำ
โดยทั่วไปโรงรับจำนำคิดอัตราดอกเบี้ย1.25 % ต่อเดือน หรือดอกเบี้ย15% ต่อปี
ล่าสุดโรงรับจำนำกทม.จัดโครงการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครอง นิสิต
นักศึกษา ที่จำเป็นต้องใช้เงินในช่วงเปิดเทอม เป็นค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเทอม
โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับผู้ปกครอง นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในอัตรา0.50 %
ต่อเดือน
ซึ่งจะเริ่มโครงการลดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 พ.ค. 58 รวมระยะเวลา
2 เดือน รายละไม่เกิน 7 หมื่นบาท
โดยต้องมีเอกสารประกอบการใช้สิทธิในวันมาจำนำ ส่งดอกหรือไถ่ถอน ได้แก่
สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียนนิสิต นักศึกษา เอกสาร
ส่วนโรงรับจำนำของรัฐ
เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.25 % ต่อเดือน เงินต้นมากกว่า 5,001 แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
คิดดอกเบี้ย 0.75 %ต่อเดือน
เงินต้นมากกว่า 25,001 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน
3.รูดบัตรเครดิตจ่ายค่าเทอม
ปัจจุบัน สถบันศึกษาเอกชนหลายแห่งเริ่มเปิดให้มีการให้ชำระค่าเล่าเรียนด้วยบัตรเครดิตได้
รวมทั้งออกบัตรให้ผ่อนชำระได้ 0% นาน 3-6
เดือน ซึ่งจะทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายบ้าง แต่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะสถาบันการศึกษาบางแห่งก็คิดค่าธรรมเนียมการรูดบัตรเครดิตด้วย
4.ขอสินเชื่อจากธนาคาร
ทุกวันนี้ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีสินเชื่อเพื่อการศึกษาให้เรากู้ยืมได้
แต่ก็ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น
ธนาคารกสิกรไทย สินเชื่อบุคคลเพื่อการศึกษากสิกรไทย ให้เงินกู้เพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
-ปริญญาเอก ทั้งในประเทศไทย โดยให้เงินกู้ 80% ของค่าใช้จ่ายแต่ละหลักสูตร
สูงสุดไม่เกิน 7.5 แสนบาท ระยะเวลาผ่อน
5-7 ปี ธนาคารกรุงไทย
สินเชื่อเพื่อการศึกษาต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์บวก3
% ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี เป็นต้น
สุดท้ายนี้
ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ปกครองและผู้ที่กำลังจะหาเงินกู้เพื่อศึกษาต่อ
เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น เพราะการเรียน
และการศึกษาเป็นการลงทุนกับตัวเองที่ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคอลัมน์แม่ไม้การเงิน นสพ.โพสต์ทูเดย์ โดยชัตน์วรี